วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทที่5


บริษัทจัดหาเงินทุนระยะยาวอย่างไร
(How Companies Raise Long Term Capital )
เงินทุนระยะยาว (Long Term Capital )
เงินทุนระยะยาว  หมายถึง เงินทุนที่มีระยะเวลาก่อประโยชน์ให้แก่กิจการให้นานกว่า 1 ปี การจัดหาเงินทุนระยะยาวเป็นการจัดหาเงินทุนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อนำเงินมาลงทุนในกิจการหรือขยายกิจการ
ตลาดการเงิน (Financial Markets)
คือ ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนหรือเปลี่ยนมือของทรัพย์สินทางการเงิน(financial assets) จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง  โดยทรัพย์สินทางการเงินอาจออกโดยหน่วยธุรกิจหรือสถาบันการเงินหรือรัฐบาลก็ได้
บทบาทสำคัญของตลาดการเงิน
บุคคล  : จัดหาเงินทุนเพื่อซื้อเครื่องใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
            : จัดหาเงินทุนเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ฯลฯ
ธุรกิจ   : จัดหาเงินทุนระยะสั้นเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนของกิจการ
            : จัดหาเงินทุนระยะยาวเพื่อการขยายกิจการ ฯลฯ
รัฐบาล : จัดหาเงินทุนเพื่อโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ ฯลฯ
ช่วยบุคคลหรือธุรกิจในด้านการลงทุนในทรัพย์สินทางการเงิน (หลักทรัพย์)
การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ: การโยกย้ายเงินทุนในระบบเศรษฐกิจ

หมายถึง  การโยกย้ายเงินออมสู่ผู้ที่ต้องการใช้เงินทุนในระบบ เศรษฐกิจ
การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ: การโยกย้ายเงินทุนในระบบเศรษฐกิจ
1. การจัดหาเงินทุนโดยตรง  (The direct transfer of   funds)

2. การจัดหาเงินทุนโดยผ่านกิจการวาณิชธนกิจ  (Indirect transfer using the investment banking)
3. การจัดหาเงินทุนโดยผ่านสถาบันการเงิน  (Indirect transfer using the financial intermediary)
องค์ประกอบของตลาดการเงิน 

(Components of Financial Market System)                                                                                                            การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนทั่วไปและการเสนอขายหลักทรัพย์แบบเจาะจง                                                  -การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนทั่วไป (publicoffering)                                                                                          เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนรายย่อยหรือนักลงทุนประเภทสถาบันโดยการจำหน่ายจะกระทำผ่านกิจการวาณิชนกิจ                                                                                                                                                                  -การเสนอขายหลักทรัพย์แบบเจาะจง (private placements)                                                                                     เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนเฉพาะบางกลุ่มโดยการจำหน่ายโดยตรงให้แก่นักลงทุน


ข้อดีและข้อเสียของการเสนอขายหลักทรัพย์แบบเจาะจง
ข้อดี    จัดหาเงินลงทุนได้รวดเร็ว
            :  ลดค่าใช้จ่ายในการออกและจำหน่ายหลักทรัพย์ได้
            :  การจัดหาเงินทุนมีความยืดหยุ่น
ข้อเสีย ต้นทุนที่เกิดจากการเสนอขายหลักทรัพย์สูงกว่าการเสนอ ขายให้แก่ประชาชนทั่วไป
            :  ข้อจำกัดในสัญญายืมเงิน
          :  ความเป็นไปได้ของการจดทะเบียน ในกรณีนักลงทุนขาย  หลักทรัพย์ก่อนครบกำหนดไถ่ถอน
       องค์ประกอบของตลาดการเงิน 

      (Components of Financial Market System)

ตลาดแรกและตลาดรอง
ตลาดแรก (Primary market)
                ตลาดการเงินที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนเป็นครั้งแรกและหลักทรัพย์ที่เสนอขายยังไม่เคยมีการซื้อขายมาก่อน
ตลาดรอง (Secondary market)
                ตลาดการเงินที่มีการเสนอขายหลักทรัพย์ซึ่งผ่านการขายมาแล้วจากตลาดแรก เป็นการเปลี่ยนมือหลักทรัพย์ระหว่างนักลงทุน
ตลาดเงินและตลาดทุน
ตลาดเงิน (Money market)
แหล่งซื้อขายหลักทรัพย์ระยะสั้นที่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไม่เกิน     1 ปี  เพื่อใช้จัดหาเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วเงินที่ธนาคารรองรับ บัตรเงินฝากที่เปลี่ยนมือได้ และตราสารพาณิชย์
ตลาดทุน (Capital market)
                แหล่งซื้อขายหลักทรัพย์ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเกินกว่า     1 ปีขึ้นไป  เพื่อใช้จัดหาเงินทุนระยะยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ เงินกู้ระยะยาวและการเช่าทรัพย์สินระยะยาว หุ้นกู้และหุ้นทุน

 ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)                                                                                                              -ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารกลาง                                                                                                            คือ สถาบันการเงินขั้นสูงสุด  มีอำนาจในการควบคุมระบบการเงินและเครดิตเพื่ออำนวยผลประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม  และก่อให้เกิดความเจริญเติบโตและความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ธนาคารกลางจะดำเนินงานอย่างมีอิสระ
ธนาคารกลางเป็นสถาบันการเงินที่ไม่หวังผลกำไร
ธนาคารกลางไม่ทำธุรกรรมโดยตรงกับภาคเอกชน
                      ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank)
-ธนาคารพาณิชย์เป็นตัวกลางหลักในการระดมเงินออมจากผู้ออมเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ
-ธนาคารพาณิชย์แบ่งออกเป็น ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบและธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
-ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเป็นระบบธนาคารสาขา
ธนาคารพาณิชย์ไทยมีทั้งหมด 14 แห่ง
1.กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2.กรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
4.ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
5.กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
6.ทหารไทย จำกัด (มหาชน)
7.นครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
8.ยูโอบี จำกัด (มหาชน)
9.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
10.ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
11.ธนชาต จำกัด (มหาชน)
12.ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
13.แลนด์ แอนด์ เฮ้า เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
14.ไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
           ธนาคารที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ
เป็นธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะ  จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะตามที่ได้กำหนดตามกฎหมาย  ธนาคารเฉพาะกิจมีทั้งหมด 6 แห่ง
1.             ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
2.             ธนาคารออมสิน
3.             ธนาคารอาคารสงเคราะห์
4.             ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
5.             ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
6.             ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : 1 4  รับฝากและปล่อยสินเชื่อ
                   5 6  ปล่อยสินเชื่ออย่างเดียว
ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง
1.             ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนและพัฒนาระบบต่างๆที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์
2.             ดำเนินธุรกิจใดๆที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหลักทรัพย์ เช่น เป็นศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ หรือกิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
3.             การดำเนินธุรกิจอื่นๆที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
องค์ประกอบของตลาดการเงิน 

(Components of Financial Market System)

ตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นระบบและตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นระบบ
       ตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นระบบ (Organized security exchange)
                มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์  โดยการซื้อหลักทรัพย์นี้มีกฎข้อบังคับที่แน่นอน
        ตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นระบบ (Organized security exchange)
                มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์  โดยการซื้อหลักทรัพย์นี้มีกฎข้อบังคับที่แน่นอน
ข้อดีของตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นระบบ
-จะมีการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ได้อย่างต่อเนื่อง  การเสนอราคาหลักทรัพย์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้การผันผวนในราคาหลักทรัพย์ลดลง
-มีการกำหนดและจัดพิมพ์ราคายุติธรรมของหลักทรัพย์  ทำให้ราคาหลักทรัพย์เป็นไปตามสภาวะการแข่งขันของตลาด  โดยราคาของหลักทรัพย์ถูกกำหนดขึ้นจากวิธีการประมูล (anauction)
-ช่วยธุรกิจในการจัดหาเงินทุนเพิ่ม  เนื่องจากกลไกของราคาหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ช่วยให้ง่ายต่อการกำหนดราคาหลักทรัพย์ใหม่

กิจการวาณิชธนกิจ (Investment Banking)
หมายถึง กิจการที่มีความเชี่ยวชาญทางการเงินที่เป็นตัวกลางในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์
หน้าที่ของกิจการวาณิชธนกิจ
รับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriting)
ทำหน้าที่ในการนำหลักทรัพย์ของบริษัทที่จัดหาเงินทุนออกจำหน่าย  โดยกิจการวาณิชธนกิจจะรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ในกรณีไม่สามารถจำหน่ายหลักทรัพย์ได้หมดหรือจำหน่ายได้ในราคาที่ต่ำกว่ากำหนด
             การจัดจำหน่าย (Distributing)
นำหลักทรัพย์ออกจำหน่ายแก่นักลงทุนทั่วไป  ซึ่งอาจจะจำหน่ายผ่านสาขาของกิจการวาณิชธนกิจหรือผ่านตัวแทนจำหน่าย
           การให้คำปรึกษา (Advising)
ให้คำปรึกษาทางการเงินของกิจการไม่ว่าในด้านการลงทุน  การซื้อขายหลักทรัพย์  รวมถึงการให้ข่าวสารเกี่ยวกับตลาดหุ้นด้วย
วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์ (Distribution Methods)
1.   วิธีการเจรจาต่อรอง (negotiated purchase)
                บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์เจรจาต่อรองโดยตรงกับกิจการวาณิชธนกิจ         เกี่ยวกับเงื่อนไขต่างๆ
2.   วิธีการประมูลราคาหลักทรัพย์ (competitive bid purchase)
                กิจการวาณิชธนกิจหลายๆกลุ่มเข้าแข่งขันประมูลราคาหลักทรัพย์
3.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบพยายามที่สุด (best efforts basis)
              กิจการวาณิชธนกิจจะเป็นเพียงตัวแทนจำหน่ายเท่านั้นจะไม่รับประกันการจำหน่าย      
4.  วิธีการจำหน่ายหลักทรัพย์แบบ privileged subscription
                กิจการวาณิชธนกิจจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนเฉพาะกลุ่ม เช่น  ผู้ถือหุ้นปัจจุบัน  พนักงานบริษัท หรือลูกค้าของบริษัท
5.  วิธีการขายตรง (direct sale)
              เป็นวิธีที่จำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่นักลงทุนเฉพาะกลุ่มเช่นเดียวกันแบบ privileged subscription  แต่จะต่างกันตรงวิธีขายตรงจะขายให้แก่นักลงทุนโดยตรงโดยไม่ผ่านกิจการวาณิชธนกิจ

ค่าใช้จ่ายในการออกและจำหน่ายหลักทรัพย์ (Flotation Costs)
ผลต่างของค่าประกันการขายหลักทรัพย์ (underwriting s spread)
ค่าใช้จ่ายในการออกหลักทรัพย์จำหน่าย (issue costs)
        -  ค่าจัดพิมพ์หลักทรัพย์            -  ค่าที่ปรึกษาทางกฎหมาย
        -  ค่าจัดทำบัญชี                         -  ค่าผู้ดูแลผลประโยชน์
        -  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น